ตามความเชื่อของคนทั่วไป Federico Fellini หลงทางเมื่อเขาทอดทิ้งแนวสัจนิยมเพื่อหันมาสร้างหนังแฟนตาซีตามแบบตัวเอง นั้นคือเริ่มต้นด้วย "La Dolce Vita" (1959) งานของเขาก็คละคลุ้งด้วยแนวคิดของฟรอยด์,ศาสนาคริสต์ ,ภาพที่แสดงถึงชีวิตของเขาเองและเรื่องทางเพศ จากการสังเกตกาณ์ที่ถูกต้องในหนังเรื่อง "La Strada" (1954) นั้นเป็นจุดสุดยอดของอาชีพของเขา หากมองตามแบบมุมมองนี้ เขาได้ทอดทิ้งรากเหง้าแบบนวสัจนิยม La Dolce Vita นั้นเลวพอแล้ว "8 1/2" (1963) ยิ่งเลวเข้าไปอีก และเมื่อเขาได้ทำหนังเรื่อง "Juliet of the Spirits" (1965) เขาก็หลุดออกไปเลย และทั้งหมดก็ดำดิ่งลงกับอาชีพของเขาซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงปี 1987 ยกเว้นหนังเรื่อง "Amarcord" (1974)ซึ่งเกี่ยวกับความทรงจำในวัยเด็กของเฟลลีนี่เอง หนังเรื่องนี้มีเสน่ห์จนคุณต้องดื่มดำและมีความสุขกับมัน โดยไม่สนใจเรื่องทฤษฎีใด ๆ
ความเชื่อของคนทั่วไปนั้นผิดอย่างสิ้นเชิง สิ่งที่เราถือว่าเป็นรูปแบบของเฟลลินี่เองนั้นได้มาถึงจุดสุดยอดใน La Dolce Vita และ 8 1/2 ภาพยนตร์ในช่วงหลังของเขายกเว้น Amarcord นั้นหาได้ดีไม่ และบางเรื่องก็เลวอย่างเห็นได้ชัด แต่พวกมันก็เต็มไปด้วยรูปแบบของผู้ทำอย่างหาผิดเพี้ยนไม่ ภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ซึ่งก็อัศจรรย์ดังที่เคยเป็นมามีเสน่ห์แบบเฟลลี่นีซึ่ง ถูกหน่วงเนี่ยวโดยพันธะเก่า ๆ ของเขาที่มีต่อรูปแบบนวสัจนิยม
นักวิจารณ์ อลัน สโตนได้เขียนใน บอสตัน รีวิวแสดงความเสียดายต่อแนวโน้มการสร้างสรรค์ของเฟลลินี่ใน "การให้ความสำคัญแก่ภาพมากกว่าความคิด" ผมกลับชื่นชอบมัน คนทำหนังผู้ให้ความสำคัญแก่ความคิดมากกว่าหนังจะไม่เคยก้าวไปไกลกว่าการเป็น หมายเลขสองเพราะเขากำลังต่อสู้กับธรรมชาติของศิลปะของตัวเอง คำที่ถูกตีพิมพ์นั้นเหมาะสำหรับความคิด ในขณะที่หนังเหมาะกับภาพ และภาพเป็นสิ่งดีที่สุดเมื่อมันเป็นอิสระในการชักจูงให้ผู้ชมเกิดจินตนาการ อื่นๆ ตามมา และไม่ได้ติดอยู่แต่วัตถุประสงค์ที่ได้รับการนิยามแบบแคบ ๆ นี่คือมุมมองของสโตนต่อความซับซ้อนของ 81/2 "เกือบจะไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าพวกเขาได้เห็นอะไรภายหลังจากที่ได้ดูหนังครั้ง แรก" จริงทีเดียว แต่ก็จริงสำหรับหนังอันยิ่งใหญ่ทั้งหลาย คุณสามารถรู้เรื่องได้จากการดูเพียงครั้งเดียวสำหรับหนังที่ตื้น ๆ เท่านั้น
8 1/2 เป็นหนังที่เกี่ยวกับการทำหนังที่ดีที่สุด หนังเล่าเรื่องจากมุมมองของผู้กำกับเอง และเป็นที่แน่ชัดว่าตัวเอกของเรื่องคือ Guido (Marcello Mastroianni)เป็นตัวแทนของของเฟลลีนี มันเริ่มต้นจากฝันร้ายที่ทำให้กุยโด้หายใจไม่ออก และภาพอันน่าประทับใจของกุยโด้ขณะลอยขึ้นไปในท้องฟ้า เพื่อที่จะถูกดึงกลับมาบนโลกโดยเชือกจากเพื่อนร่วมงานที่พยายามข่มขู่ให้เขา เตรียมการแผนการสำหรับทำหนังเรื่องต่อไป หนังโดยมากมีสถานที่คือสปาใกล้กรุงโรมและสิ่งก่อสร้างมหึมาสำหรับหนังเรื่อง ต่อไปของเขา มันเป็นมหากาพย์ที่สร้างจากนิยายวิทยาศาสตร์ซึ่งเขาได้เลิกสนใจจะทำไปแล้ว
ภาพยนตร์วกไปเวียนมาระหว่างความจริงและภาพฝัน ๆ นักวิจารณ์บางคนบ่นว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแยกว่าอะไรเป็นความจริงและอันไหน เกิดขึ้นในความคิดของกุยโด้ แต่ผมไม่เคยมีความยากเย็นเช่นนั้นแม้แต่น้อย และมักจะมีจุดเปลี่ยนเมื่อกุยโด้หลบหนีจากปัจจุบันอันน่าเบื่อหน่ายไปยังโลก แห่งความฝันอันแสนหวานของตน
หลายครั้ง โลกในความฝันนั้นเป็นการสร้างขึ้นมาเองจากความคิดของเขา ดังในฉากฮาเล็มอันโด่งดังที่กุยโด้เป็นเจ้านายของบ้านที่ผู้หญิงในชีวิตของ เขาอาศัยอยู่ไม่ว่าภรรยาหลวง ภรรยาน้อย หรือคนที่เขาเพียงต้องการจะหลับนอนด้วย ในบางกรณี เราเห็นประสบการณ์จริงของเขาที่ถูกบิดเบือนโดยจินตนาการ เมื่อกุยโด้ในวัยเยาว์ร่วมกับเพื่อนไปเฝ้ามองโสเภณีที่ชื่อ Saraghina ภาพของหล่อนนั้นช่างใหญ่โต เปี่ยมด้วยพละกำลังพร้อมทรวดทรงอันยั่วยวน เท่าที่พวกเด็กผู้ชายจะจดจำได้ เมื่อเขาถูกลงโทษโดยพระที่โรงเรียนคาทอลิกที่เขาเรียนอยู่ กำแพงด้านหนึ่งเต็มพรืดด้วยภาพวาดขนาดใหญ่ของอดีตพระอธิการ และDominic Savio นักบุญน้อยอันเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธ์ในเวลาและสถานที่นั้น ภาพวาดที่ใหญ่เกินความจริงได้สะท้อนให้เห็นความรู้สึกผิดบาปของกุยโด้ที่ว่า เขาไม่มีความมุ่งมั่นเหมือนกับนักบุญซาวิโอ
ภาพทั้งหมดนั้น (จริง,ประสบการณ์,สร้างขึ้นเอง)เข้ามารวมกันกลายเป็นหนังที่มีโครงสร้างที่ แน่นของเฟลลินี่ บทนั้นมีความละเอียดอ่อน แต่เพราะเรื่องข้องเกี่ยวกับผู้กำกับผู้สับสนที่ไม่รู้ว่าเขาต้องการจะทำ อะไรต่อไป 8 1/2 มักจะถูกนำมาอธิบายว่าเป็นเครื่องมือหากินของผู้กำกับที่ไม่มีแผนการณ์
นักวิจารณ์ในอินเตอร์เน็ตถามว่า "อะไรกันนี่ ? เมื่อหนึ่งในผู้กำกับที่ได้รับการนับถือมากที่สุดของโลกคิดอะไรไม่ออก มันไม่ใช่หนังประเภทดาด ๆ แต่เป็นหนังหญ้าปากคอก ตราบใดที่เขาได้ทำหนังเกี่ยวกับเรื่องที่ตัวเองไม่สามารถทำหนังได้ "
8 1/2 ไม่ใช่หนังเกี่ยวกับผู้กำกับหมดกึ๋น แต่เป็นหนังที่ถูกแต่งเติมใส่ลงไปเพื่อระเบิดพลังอันสร้างสรรค์ออกมา กุยโด้นั้นไม่สามารถทำหนังได้แต่เฟลลินี่นั้นตรงกันข้ามอย่างชัดเจน
Mastroianni แสดงเป็นกุยโด้ ผู้ชายซึ่งเหน็ดเหนื่อยกับการพลิ้วไปพลิ้วมา, การโกหกและความต้องการทางเนื้อหนังมังสา เขามีภรรยา (Anouk Aimee) เป็นคนฉลาดและมีเสน่ห์ ผู้ที่เขารักแต่ไม่สามารถสื่อสารด้วย และภรรยาน้อย (Sandra Milo) ผู้มีสมองตื้นและต่ำชั้น ไม่ถูกกับรสนิยมของเขาเป็นยิ่งนักแต่ก็สนองตัญหาเบื้องลึกของเขาได้ดี เขาสับรางรถไฟอย่างมั่ว ๆ จนผู้หญิงทั้งสองคนได้อยู่ในเมืองสปาในเวลาเดียวกัน เช่นเดียวกับผู้อำนวยการสร้างที่เริ่มหมดความอดทน และนักเขียนวิจารณ์หนังของเขารวมไปถึงนักแสดงเรื่องมากผู้ปรารถนาหรือเชื่อ ว่าพวกตนจะได้อยู่ในหนังของเขา
(กุยโด้และภรรยาน้อยของเขา)
เขาไม่สามารถหาเวลาแห่งสันติสุขได้เลย กุยโด้ใคร่ครวญต่อมาในหนังว่า "ความสุข คือความสามารถในการบอกความจริงโดยไม่ทำให้ใครเจ็บปวด" พรสวรรค์เช่นนั้นกลับไม่มีในตัวของนักเขียนลูกน้องของกุยโด้เลย เขาบอกกับผู้กำกับว่าหนังของเขานั้นเป็น "ชุดของเรื่องราวที่ไร้สาระอย่างสิ้นเชิง" และ "ไม่มีความได้เปรียบของหนังแบบ avant-garde (หนังสร้างสรรค์แบบใหม่)"
กุยโด้มองหาคำแนะนำ พระชราส่ายหัวอย่างเศร้าใจ ทำให้เขาหวนระลึกถึงความรู้สึกผิดบาปในวัยเยาว์ นักเขียนที่เป็นพวกมาร์กซิสต์นั้นดูถูกงานของเขาอย่างเปิดเผย หมอทั้งหลายแนะนำให้เขาดื่มน้ำแร่และพักผ่อน ผู้อำนวยการสร้างร้องขอให้มีการเขียนบทใหม่โดยเร็ว ด้วยว่าจ่ายเงินสำหรับฉากอันแสนอลังการ เขายืนยันว่ามันต้องถูกใช้
และเป็นบางครั้งบางคราว กุยโด้ก็สร้างภาพผู้หญิงในอุดมคติของตนขึ้นมา Claudia Cardinale มารับบทนี้ด้วยบุคลิกที่แสนจะเยือกเย็น,อ่อนโยน,สวย,สงบเสงี่ยมและไม่ปากไว พร้อมด้วยคำตอบทั้งหลายและไร้ซึ่งคำถาม แต่เมื่อตัวจริงปรากฏตัวออกมาภาพฝัน ๆกลายเป็นความผิดหวัง (เธอก็สิ้นหวังเหมือนกับนักแสดงคนอื่นๆ นั้นแหละ) แต่ในความคิดของเขา เขาได้แปลงร่างของเธอให้กลายเป็นเทพธิดาแห่งแรงบรรดาลใจ และมักจะปลอบใจตัวเองจากภาพของเธอในจินตนาการ
กล้องของเฟลลินี่นั้นให้เราเห็นภาพอันน่าปีติอย่างไร้ที่สิ้นสุด นักแสดงของเขาดูเหมือนจะเต้นรำมากกว่าแค่เดินอย่างเดียว ผมได้ไปเยี่ยมในกองถ่ายหนังเรื่อง "Satyricon"ของเขาและมีความสนใจที่ได้เห็นว่าเขาบรรเลงดนตรีในทุกๆ ฉาก (เหมือนผู้กำกับอิตาเลี่ยนในรุ่นเดียวกัน เขาไม่ได้บันทึกเสียงจากที่ถ่ายทำแต่เอาบทสนทนามาพากย์ใส่ในตอนหลัง)
ดนตรีนั้นทำให้การเคลื่อนไหวของพวกเขามีจังหวะอันนุ่มนวลและล่องลอย แน่นอนว่าหลายๆ ฉากนั้นมีองค์ประกอบสำคัญคือดนตรี ใน 8 1/2 เราจะเห็น ออร์เคสตร้า กลุ่มนักเต้นรำและนักดนตรีที่เดินไปเดินมาขณะเล่น รวมไปถึงนักแสดงเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปขบวนราวกับว่าถูกจับให้เคลื่อนไหวไป พร้อมๆ กัน ดนตรีประกอบของเฟลลินี่โดยนิโน่ โรต้าได้ผสมผสานเพลงแบบป็อบเข้ากับเพลงเต้นรำทำให้การแสดงดูมีพลังยิ่งนัก
มีผู้กำกับน้อยรายที่สามารถใช้พื้นที่ได้ดีกว่าเฟลลินี่ หนึ่งในเทคนิคที่เขาชอบก็คือการเน้นไปที่กลุ่มที่กำลังเคลื่อนไหวในพื้นหลัง และนำพวกเขาผ่านมาทางพื้นหน้าของฉากซึ่งไหลเข้ามาและออกไปจากกรอบของภาพ เขายังนิยมสร้างฉากด้วยมุมมองแบบกว้าง ๆ และจะขยับเข้าไปใกล้ เมื่อตัวผู้แสดงลุกขึ้นมาทักทายพวกเรา เทคนิคอื่นๆคือการตามตัวผู้แสดงไปขณะที่พวกเขาเดิน ถ่ายภาพของพวกเขาให้มีขนาดสามในสี่ส่วนของตัวจริง ในขณะที่พวกเขาหันกลับมาตรงหน้าจอ และเฟลลินี่ชอบเริ่มต้นฉากการเต้นรำโดยให้คู่เต้นคนหนึ่งยิ้มอย่างเชิญชวน ให้กับกล้องก่อนที่คู่เต้นอีกคนจะมาร่วมเต้นด้วย
ผู้ที่เคลื่อนไหวทั้งหมดนี้ถูกนำมารวมกันในการเดินพาเรดอันแสนโดดเด่นของเขา เนื่องจากแรงบันดาลใจจากความรักของเขาที่มีต่อละครสัตว์ในวัยเยาว์ เฟลลินี่ใช้พาเรดในหนังของเขาทั้งหมด แต่ไม่ใช่พาเรดที่เป็นระเบียบตายตัว บ้างก็มายังพื้นหน้าของจอ บ้างก็ถอยห่างออกไป ผู้แสดงเคลื่อนไหวพร้อมกันไปยังเป้าหมายอันเดียวกันหรือตามเพลง ๆ เดียวกัน 8 1/2 จบด้วยพาเรดซึ่งเฟลลินี่จงใจจะให้เหมือนกับของละครสัตว์ พร้อมด้วยการเดินของนักดนตรี ตัวผู้แสดงหลัก และคนหน้าตาน่าเกลียด ตัวประหลาดและคนชนิดต่างๆ ที่เฟลลินี่นิยมนำมาแสดงในหนังเรื่องต่าง ๆของเขา
Eight and a half 8 ½ : Audio Eng
: Sub Thai
Rip From DVD
DOWNLOAD
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น