ท่ามกลางแสงสปอตไลท์ที่ฉายไปบนเวทีประกาศรางวัลปาล์มทองคำครั้งที่ 59 บุรุษผู้มากับแว่นดำที่ดูราวกับมาเฟียในหนังฮ่องกง ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ด้วยภาษาบ้านเกิดว่า “การได้เป็นประธานคณะกรรมการตัดสินเทศกาลหนังเมืองคานส์ถือเป็นเกียรติ ประวัติที่ยิ่งใหญ่ แต่มันไม่ใช่ของผมคนเดียว หากแต่เป็นของชาวจีนทั่วโลก และเป็นเกียรติยศของวงการภาพยนตร์เอเชียด้วย”
สองทศวรรษที่ผ่านมา หว่องกาไว หรือ หวังเจียเว่ย ค่อยๆ ไต่บันไดขึ้นมาอย่างมั่นคงทีละขั้นๆ จนได้เป็นชาวจีนคนแรกที่ได้นั่งหัวโต๊ะคณะกรรมการตัดสินรางวัลเทศกาลหนัง ประจำแดนน้ำหอม ที่เหมือนตราประทับรับรองคุณภาพหนังดีอีกหนึ่งเวทีของซีกโลกตะวันตก
ความปรารถนาสูงสุดของด.ช.หว่องกาไวคือการได้เข้าเรียนในสถาบันภาพยนตร์ เพราะจะได้ดูหนังดีดีทุกวัน ทว่ากว่าฝันนี้จะเป็นจริงได้ ก็ปาเข้าไปหลังเขาเรียนจบสาขากราฟฟิกดีไซน์ จากวิทยาลัยโปลีเทคนิคฮ่องกง แล้วได้เข้าอบรมวิชาผลิตภาพยนตร์และเขียนบทกับทางสถานีโทรทัศน์ฮ่องกง (TVB)
หว่องเล่าว่าตอนนั้นเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่สุด จินตนาการของเขาวิ่งเล่นเริ่งร่าทุกวัน ถ้าบังเอิญได้พบเจอสาวงามที่ไหน เขาจะไม่รีรอที่จะชวนเธอว่า “เรามาถ่ายหนังกันเถอะ !” หว่องตอบตัวเองได้ทันทีว่าหลงรักงานทำหนังเข้าแล้วเต็มเปา พร้อมเปิดฉากชีวิตวงการมายาด้วยงานผู้ช่วยฝ่ายผลิตและเขียนบทละครโทรทัศน์ ให้กับทีวีบีนาน 2 ปี
หลังจากนั้นหว่องได้ก้าวเข้าสู่โลกภาพยนตร์ ช่วงปี 1982-1987 เขาเขียนบทภาพยนตร์ถึง 10 เรื่อง จนมีผลงานกำกับหนังเรื่องแรกออกมาตอนอายุขึ้นเลข 3 กับ As Tears Go By ที่สะท้อนสังคมมาเฟียฮ่องกงซึ่งนอกจากโดนใจคนดูในบ้านแล้ว ยังโกอินเตอร์ทันทีไปฉายในงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ปี 1989
เรื่องต่อมา Days of Being Wild ว่าด้วยชีวิตวัยรุ่นไร้จุดหมายในยุค 1960 ที่รวบรวมดาราดังแห่งยุคไว้คับคั่ง ถือเป็นจุดเริ่มต้นหนังเอกลักษณ์สไตล์หว่อง ซึ่งคว้ารางวัลตุ๊กตาทองฮ่องกงไปถึง 5 รางวัล อันรวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและผู้กำกับยอดเยี่ยมด้วย
หลังจากนั้นเขาได้ใช้เวลาอีกสองปีเนรมิตรวรรณกรรมของกิมย้งให้เป็นหนังกำลัง ภายในแนวดรามาเรื่อง Ashes of Time ซึ่งได้เปิดตัวในงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองเวนิซปีเดียวกัน
หว่องใช้เวลาเพียงสองเดือน ระหว่างงานขั้นตอนหลังการถ่ายทำ Ashes of Time กำกับเรื่อง Chungking Express ตามติดด้วย Fallen Angels ซึ่งได้เปิดตัวในงานเทศกาลภาพยนตร์ที่โตรอนโต้ในปีนั้น
ปีที่ฮ่องกงกลับคืนสู่อ้อมอกแผ่นดินแม่ หว่องได้ส่งหนังท้าท้ายแห่งยุคว่าด้วยชีวิตเกย์เรื่อง Happy Together ที่ได้เลสลี่จางและเหลียงเฉาเหว่ยมาแสดง ซึ่งเรียกเสียงฮือฮาพร้อมได้เปิดตัวในงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ และสร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้กำกับจีนคนแรกที่ได้รับรางวัลผู้กำกับยอด เยี่ยมจากเวทีนี้
สองทศวรรษที่ผ่านมา หว่องกาไว หรือ หวังเจียเว่ย ค่อยๆ ไต่บันไดขึ้นมาอย่างมั่นคงทีละขั้นๆ จนได้เป็นชาวจีนคนแรกที่ได้นั่งหัวโต๊ะคณะกรรมการตัดสินรางวัลเทศกาลหนัง ประจำแดนน้ำหอม ที่เหมือนตราประทับรับรองคุณภาพหนังดีอีกหนึ่งเวทีของซีกโลกตะวันตก
ความปรารถนาสูงสุดของด.ช.หว่องกาไวคือการได้เข้าเรียนในสถาบันภาพยนตร์ เพราะจะได้ดูหนังดีดีทุกวัน ทว่ากว่าฝันนี้จะเป็นจริงได้ ก็ปาเข้าไปหลังเขาเรียนจบสาขากราฟฟิกดีไซน์ จากวิทยาลัยโปลีเทคนิคฮ่องกง แล้วได้เข้าอบรมวิชาผลิตภาพยนตร์และเขียนบทกับทางสถานีโทรทัศน์ฮ่องกง (TVB)
หว่องเล่าว่าตอนนั้นเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่สุด จินตนาการของเขาวิ่งเล่นเริ่งร่าทุกวัน ถ้าบังเอิญได้พบเจอสาวงามที่ไหน เขาจะไม่รีรอที่จะชวนเธอว่า “เรามาถ่ายหนังกันเถอะ !” หว่องตอบตัวเองได้ทันทีว่าหลงรักงานทำหนังเข้าแล้วเต็มเปา พร้อมเปิดฉากชีวิตวงการมายาด้วยงานผู้ช่วยฝ่ายผลิตและเขียนบทละครโทรทัศน์ ให้กับทีวีบีนาน 2 ปี
หลังจากนั้นหว่องได้ก้าวเข้าสู่โลกภาพยนตร์ ช่วงปี 1982-1987 เขาเขียนบทภาพยนตร์ถึง 10 เรื่อง จนมีผลงานกำกับหนังเรื่องแรกออกมาตอนอายุขึ้นเลข 3 กับ As Tears Go By ที่สะท้อนสังคมมาเฟียฮ่องกงซึ่งนอกจากโดนใจคนดูในบ้านแล้ว ยังโกอินเตอร์ทันทีไปฉายในงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ปี 1989
เรื่องต่อมา Days of Being Wild ว่าด้วยชีวิตวัยรุ่นไร้จุดหมายในยุค 1960 ที่รวบรวมดาราดังแห่งยุคไว้คับคั่ง ถือเป็นจุดเริ่มต้นหนังเอกลักษณ์สไตล์หว่อง ซึ่งคว้ารางวัลตุ๊กตาทองฮ่องกงไปถึง 5 รางวัล อันรวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและผู้กำกับยอดเยี่ยมด้วย
หลังจากนั้นเขาได้ใช้เวลาอีกสองปีเนรมิตรวรรณกรรมของกิมย้งให้เป็นหนังกำลัง ภายในแนวดรามาเรื่อง Ashes of Time ซึ่งได้เปิดตัวในงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองเวนิซปีเดียวกัน
หว่องใช้เวลาเพียงสองเดือน ระหว่างงานขั้นตอนหลังการถ่ายทำ Ashes of Time กำกับเรื่อง Chungking Express ตามติดด้วย Fallen Angels ซึ่งได้เปิดตัวในงานเทศกาลภาพยนตร์ที่โตรอนโต้ในปีนั้น
ปีที่ฮ่องกงกลับคืนสู่อ้อมอกแผ่นดินแม่ หว่องได้ส่งหนังท้าท้ายแห่งยุคว่าด้วยชีวิตเกย์เรื่อง Happy Together ที่ได้เลสลี่จางและเหลียงเฉาเหว่ยมาแสดง ซึ่งเรียกเสียงฮือฮาพร้อมได้เปิดตัวในงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ และสร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้กำกับจีนคนแรกที่ได้รับรางวัลผู้กำกับยอด เยี่ยมจากเวทีนี้
ประสบการณ์งานเขียนบทเกือบ 10 ปีของหว่อง ถือเป็นฐานรากที่แข็งแกร่งให้กับงานกำกับภาพยนตร์ และทำให้เขาสร้างหนังได้เป็นเอกลักษณ์ยากจะลอกเลียนแบบได้
หนังของ ‘พ่อครัวหว่อง’ ถูกปรุงด้วยส่วนผสมของภาพ เสียง ดนตรี และคำพูด ที่อาจสร้างความคลุมเครือให้คนดู แต่ก็วิจิตรอยู่ในตัวอย่างยากอธิบาย เพื่อถ่ายทอดภาระแห่งความทรงจำอันโศกซึ้ง ด้วยบุคลิกของตัวละครที่แปลกแยก
‘พ่อครัวหว่อง’ ยังมักซ้อนรหัสตัวเลขไว้ในหนัง ตั้งแต่วันที่ นาฬิกา เพจเจอร์ วิทยุ ตู้เพลง สัปปะรดกระป๋อง หรือแม้แต่สลัด ฉากหนึ่งในเรื่อง Fallen Angels ‘หลีหมิง’ ทิ้งเหรียญ 5 ไว้ให้หลี่เจียซิน แล้วฝากบ๋อยไปบอกเธอว่าหมายเลขนำโชคคือ 1818 ซึ่งความจริงแล้ว 1818 เป็นรหัสของเพลงหนึ่งในตู้เพลง ที่มีชื่อว่า “ให้ลืมเขา” ส่วนห้องพักที่เหลียงเฉาเหว่ยนัดเจอกับจางมั่นอี้ว์ในเรื่อง In The mood of love คือห้อง 2046
แฟนหนังของหว่องอาจจะสังเกตเห็นว่า หนังของเขาเต็มไปด้วยฉากสลัวๆ ในเวลากลางคืน เรื่องนี้จะว่าจงใจก็ไม่เชิง เพราะเหตุผลคือช่วงกลางวันของหว่องมักหมดไปกับงานเขียนบท แก้บท และถ่ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ผู้กำกับหัวก้าวหน้าจากฮ่องกงคนนี้ยังเคยบอกว่า เขาไม่ชอบให้คนดูเดาเนื้อเรื่องที่จะเกิดต่อไปได้ ดังนั้น เขาจะไม่เข้าไปบังคับกะเกณฑ์เค้าโครงของหนัง แต่จะปล่อยให้โครงสร้างแต่ละส่วนทำงานไปตามธรรมชาติ ซึ่งกลับกลายเป็นเอกลักษณ์หนังสไตล์หว่องอีกอย่าง
ดาราแต่ละคนที่เคยร่วมงานกับหว่อง ก่อนที่จะได้ดูหนังทั้งเรื่อง จะไม่มีทางรู้เลยว่าหนังจะจบลงอย่างไร เพราะว่าหว่องจะถ่ายฟิล์มเก็บไว้เป็นตั้งๆ ส่วนหนังจะพัฒนาเนื้อเรื่องไปอย่างไรนั้น มีเพียงผู้กำกับและคนตัดต่อเท่านั้นที่จะล่วงรู้ ซึ่งบางครั้งทำให้หนังเรื่องเดียวกัน แต่อาจมีหลายเวอร์ชัน
บรรดานักแสดงชื่อดังทั้งหลายถึงกับยอมลดค่าตัว เพื่อจะได้ร่วมงานกับผกก.หว่อง และยังเต็มใจแสดงโดยไม่ตั้งคำถามกับเขา ‘จินเฉิงอู่ หรือ ทาเคชิ คาเนชิโร่’ แม้จะตากแดดอยู่กลางแจ้งเป็นวันๆ โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่ากำลังแสดงอะไรอยู่ในเรื่อง Fallen Angels แต่เขาก็ทุ่มเทแรงกายเล่นอย่างสุดฝีมือ
ถึงกระนั้น ผกก.หว่องก็รู้ตัวดีว่า ด้วยความที่เป็นพวกตั้งมาตรฐานหนังไว้สูงลิ่ว ทำให้ดาราจำนวนมากไม่ชอบร่วมงานกับตน “หนังแต่ละเรื่องของผมต้องใช้เวลาถ่ายนานมาก เพราะผมชอบถ่ายไปแก้ไป ที่สำคัญตอนตัดต่อ ตัดไปตัดมา ยังตัดบางคนทิ้งไปอีก”
หว่องกาไวกล่าวถึง ‘เหลียงเฉาเหว่ย’ ที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘ดาราคู่บารมี’ ของตนเองว่า “เหลียงเป็นคนที่มีบุคลิกเฉพาะตัว และเล่นได้ทุกบทบาท จะว่าไปแล้วก็เหมือน ‘ฟองน้ำ’ ที่สามารถดูดซับอะไรไว้ได้มากมาย และสามารถคลายออกมาได้หมดจด”
ส่วน ‘ตู้เข่อเฟิง’ ขุนพลช่างภาพคู่ทุกข์คู่ยาก กลับถูกผกก.หว่องแซวว่าชอบทำเป็นเล่นเหมือนคนบ้า แต่กลับถ่ายหนังออกมาได้ดีถูกใจแม้ไม่ต้องบอกอะไรเลย
จุดเด่นอีกอย่างของหนังยี่ห้อหว่องกาไว ยังอยู่ที่ ‘บทสนทนา’ ของตัวละคร ที่ทำหน้าที่สาธยายแก่นแท้ของชีวิตคนดู เพราะแท้จริงแล้ว การพูดคุยโต้ตอบถือเป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานระหว่างมนุษย์นั่นเอง
หนังของ ‘พ่อครัวหว่อง’ ถูกปรุงด้วยส่วนผสมของภาพ เสียง ดนตรี และคำพูด ที่อาจสร้างความคลุมเครือให้คนดู แต่ก็วิจิตรอยู่ในตัวอย่างยากอธิบาย เพื่อถ่ายทอดภาระแห่งความทรงจำอันโศกซึ้ง ด้วยบุคลิกของตัวละครที่แปลกแยก
‘พ่อครัวหว่อง’ ยังมักซ้อนรหัสตัวเลขไว้ในหนัง ตั้งแต่วันที่ นาฬิกา เพจเจอร์ วิทยุ ตู้เพลง สัปปะรดกระป๋อง หรือแม้แต่สลัด ฉากหนึ่งในเรื่อง Fallen Angels ‘หลีหมิง’ ทิ้งเหรียญ 5 ไว้ให้หลี่เจียซิน แล้วฝากบ๋อยไปบอกเธอว่าหมายเลขนำโชคคือ 1818 ซึ่งความจริงแล้ว 1818 เป็นรหัสของเพลงหนึ่งในตู้เพลง ที่มีชื่อว่า “ให้ลืมเขา” ส่วนห้องพักที่เหลียงเฉาเหว่ยนัดเจอกับจางมั่นอี้ว์ในเรื่อง In The mood of love คือห้อง 2046
แฟนหนังของหว่องอาจจะสังเกตเห็นว่า หนังของเขาเต็มไปด้วยฉากสลัวๆ ในเวลากลางคืน เรื่องนี้จะว่าจงใจก็ไม่เชิง เพราะเหตุผลคือช่วงกลางวันของหว่องมักหมดไปกับงานเขียนบท แก้บท และถ่ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ผู้กำกับหัวก้าวหน้าจากฮ่องกงคนนี้ยังเคยบอกว่า เขาไม่ชอบให้คนดูเดาเนื้อเรื่องที่จะเกิดต่อไปได้ ดังนั้น เขาจะไม่เข้าไปบังคับกะเกณฑ์เค้าโครงของหนัง แต่จะปล่อยให้โครงสร้างแต่ละส่วนทำงานไปตามธรรมชาติ ซึ่งกลับกลายเป็นเอกลักษณ์หนังสไตล์หว่องอีกอย่าง
ดาราแต่ละคนที่เคยร่วมงานกับหว่อง ก่อนที่จะได้ดูหนังทั้งเรื่อง จะไม่มีทางรู้เลยว่าหนังจะจบลงอย่างไร เพราะว่าหว่องจะถ่ายฟิล์มเก็บไว้เป็นตั้งๆ ส่วนหนังจะพัฒนาเนื้อเรื่องไปอย่างไรนั้น มีเพียงผู้กำกับและคนตัดต่อเท่านั้นที่จะล่วงรู้ ซึ่งบางครั้งทำให้หนังเรื่องเดียวกัน แต่อาจมีหลายเวอร์ชัน
บรรดานักแสดงชื่อดังทั้งหลายถึงกับยอมลดค่าตัว เพื่อจะได้ร่วมงานกับผกก.หว่อง และยังเต็มใจแสดงโดยไม่ตั้งคำถามกับเขา ‘จินเฉิงอู่ หรือ ทาเคชิ คาเนชิโร่’ แม้จะตากแดดอยู่กลางแจ้งเป็นวันๆ โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่ากำลังแสดงอะไรอยู่ในเรื่อง Fallen Angels แต่เขาก็ทุ่มเทแรงกายเล่นอย่างสุดฝีมือ
ถึงกระนั้น ผกก.หว่องก็รู้ตัวดีว่า ด้วยความที่เป็นพวกตั้งมาตรฐานหนังไว้สูงลิ่ว ทำให้ดาราจำนวนมากไม่ชอบร่วมงานกับตน “หนังแต่ละเรื่องของผมต้องใช้เวลาถ่ายนานมาก เพราะผมชอบถ่ายไปแก้ไป ที่สำคัญตอนตัดต่อ ตัดไปตัดมา ยังตัดบางคนทิ้งไปอีก”
หว่องกาไวกล่าวถึง ‘เหลียงเฉาเหว่ย’ ที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘ดาราคู่บารมี’ ของตนเองว่า “เหลียงเป็นคนที่มีบุคลิกเฉพาะตัว และเล่นได้ทุกบทบาท จะว่าไปแล้วก็เหมือน ‘ฟองน้ำ’ ที่สามารถดูดซับอะไรไว้ได้มากมาย และสามารถคลายออกมาได้หมดจด”
ส่วน ‘ตู้เข่อเฟิง’ ขุนพลช่างภาพคู่ทุกข์คู่ยาก กลับถูกผกก.หว่องแซวว่าชอบทำเป็นเล่นเหมือนคนบ้า แต่กลับถ่ายหนังออกมาได้ดีถูกใจแม้ไม่ต้องบอกอะไรเลย
จุดเด่นอีกอย่างของหนังยี่ห้อหว่องกาไว ยังอยู่ที่ ‘บทสนทนา’ ของตัวละคร ที่ทำหน้าที่สาธยายแก่นแท้ของชีวิตคนดู เพราะแท้จริงแล้ว การพูดคุยโต้ตอบถือเป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานระหว่างมนุษย์นั่นเอง
ผู้กำกับวัย 48 ที่มีพรสวรรค์สูงสุดคนหนึ่งในเอเชียยังยอมรับว่า ทุกวันนี้การทำหนังต้องคำนึกถึงเรื่องตลาด และต้องอาศัยรสนิยมทางหนังหลายหลายสไตล์ไปสร้างความคุ้นเคยให้แก่คนดูที่แตก ต่างกัน ทว่าบ่อยครั้งเขาก็ยึดตามรสนิยมของตัวเอง
อย่างเหตุที่เลือกให้เรื่อง In The Mood for Love มีเซี่ยงไฮ้ยุคทศวรรษ 1960 เป็นฉากหลัง ก็เพื่อรำลึกถึงบ้านเกิดเมืองนอนที่เขาต้องอพยพจากไปตั้งแต่วัยเพียง 5 ขวบเมื่อปี 1962 หว่องจึงคิดจะถ่ายทอดคืนวันเก่าๆ เหล่านั้นออกมาเป็นภาพยนตร์
แต่แล้วมันกลับโดนใจหลายคนเข้าอย่างจัง อาจเป็นเพราะมันคือหนังที่สะท้อนแง่งามของยุคสมัยที่มีแต่เสียงระเบิดและดิน ปืนของไฟสงคราม จน In The Mood for Love ได้เปิดตัวในงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปี 2000 และได้รางวัล Grand Prix Technique (เป็นรางวัลพิเศษสำหรับกำกับภาพและลำดับภาพยอดเยี่ยม) กลับบ้านไป พร้อมส่งเหลียงเฉาเหว่ยคว้ารางวัลดาราแสดงนำชายยอดเยี่ยมด้วยนั้น
ถ้าบังเอิญคุณเป็นคนหนึ่งที่ดูหนังหลายเรื่องของหว่องแล้วยังไม่สามารถ บรรยายความรู้สึกออกมาได้ นั่นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะหว่องเฉลยว่า
“หนังที่ดีมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรสสัมผัส ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด หากคุณต้องการเพียงแค่เรื่องอย่างเดียวก็สามารถอ่านหนังสือได้ หากคุณต้องการเพียงแค่ภาพก็สามารถถ่ายภาพได้ แต่ว่าหนังนั้นเปรียบได้กับอาหารจานหนึ่ง ที่เมื่อคุณทานแล้วรู้สึกดีโดยที่ไม่รู้ว่ามันปรุงอย่างไร และไม่สามารถบรรยายออกมาได้”
ภายหลังงานประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัลปาล์มทองคำปีนี้ปิดม่านลง นั่นหมายถึงกองถ่ายทำหนังฝรั่งเรื่องแรกของหว่องกาไว My Blueberry Nights กำลังจะเดินเครื่องขึ้น ซึ่งแม้หลายคนจะกังวลว่า เมื่อเข้าสู่โลกฮอลลิวูดแล้ว หว่องอาจจะสูญเสียเอกลักษณ์หนังแบบฉบับของตัวเองไป แต่เจ้าตัวกลับเสียงเข้มว่า “แม้จะอยู่ที่สหรัฐอเมริกา แต่ผมก็ยังเป็นผม ผมจะไม่มีวันให้มายาฮอลลิวูดมีอิทธิพลเหนือตัวผม !”
อย่างเหตุที่เลือกให้เรื่อง In The Mood for Love มีเซี่ยงไฮ้ยุคทศวรรษ 1960 เป็นฉากหลัง ก็เพื่อรำลึกถึงบ้านเกิดเมืองนอนที่เขาต้องอพยพจากไปตั้งแต่วัยเพียง 5 ขวบเมื่อปี 1962 หว่องจึงคิดจะถ่ายทอดคืนวันเก่าๆ เหล่านั้นออกมาเป็นภาพยนตร์
แต่แล้วมันกลับโดนใจหลายคนเข้าอย่างจัง อาจเป็นเพราะมันคือหนังที่สะท้อนแง่งามของยุคสมัยที่มีแต่เสียงระเบิดและดิน ปืนของไฟสงคราม จน In The Mood for Love ได้เปิดตัวในงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปี 2000 และได้รางวัล Grand Prix Technique (เป็นรางวัลพิเศษสำหรับกำกับภาพและลำดับภาพยอดเยี่ยม) กลับบ้านไป พร้อมส่งเหลียงเฉาเหว่ยคว้ารางวัลดาราแสดงนำชายยอดเยี่ยมด้วยนั้น
ถ้าบังเอิญคุณเป็นคนหนึ่งที่ดูหนังหลายเรื่องของหว่องแล้วยังไม่สามารถ บรรยายความรู้สึกออกมาได้ นั่นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะหว่องเฉลยว่า
“หนังที่ดีมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรสสัมผัส ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด หากคุณต้องการเพียงแค่เรื่องอย่างเดียวก็สามารถอ่านหนังสือได้ หากคุณต้องการเพียงแค่ภาพก็สามารถถ่ายภาพได้ แต่ว่าหนังนั้นเปรียบได้กับอาหารจานหนึ่ง ที่เมื่อคุณทานแล้วรู้สึกดีโดยที่ไม่รู้ว่ามันปรุงอย่างไร และไม่สามารถบรรยายออกมาได้”
ภายหลังงานประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัลปาล์มทองคำปีนี้ปิดม่านลง นั่นหมายถึงกองถ่ายทำหนังฝรั่งเรื่องแรกของหว่องกาไว My Blueberry Nights กำลังจะเดินเครื่องขึ้น ซึ่งแม้หลายคนจะกังวลว่า เมื่อเข้าสู่โลกฮอลลิวูดแล้ว หว่องอาจจะสูญเสียเอกลักษณ์หนังแบบฉบับของตัวเองไป แต่เจ้าตัวกลับเสียงเข้มว่า “แม้จะอยู่ที่สหรัฐอเมริกา แต่ผมก็ยังเป็นผม ผมจะไม่มีวันให้มายาฮอลลิวูดมีอิทธิพลเหนือตัวผม !”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น